นั่งเรือข้ามฟาก เที่ยว 5 วัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา



นั่งเรือข้ามฟาก เที่ยว 5 วัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

Share :

นั่งเรือข้ามฟาก เที่ยว 5 วัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา



นักท่องเที่ยวสายบุญที่อยากเที่ยวเข้าวัด ไหว้พระในรูปแบบใหม่ เราขอแนะนำให้ นั่งเรือข้ามฟาก เที่ยว 5 วัดต่าง ๆ ที่อยู่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ดังต่อไปนี้

 

1. วัดพระแก้ว

 

วัดพระแก้ว หรือชื่อเต็มว่า "วัดพระศรีรัตนศาสดาราม" เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของประเทศไทยเรามานาน  ตั้งแต่การก่อตั้งยุครัตนโกสินทร์ โดยรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พร้อมกับการสถาปนา กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวัง เช่นเดียวกับ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา ภายใน พระอุโบสถของ วัดพระแก้ว มีการประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต ให้นักท่องเที่ยว สามารถเข้าไปกราบไหว้กันได้

 

การเดินทางโดยเรือข้ามฟาก ลงที่ท่าเรือ : ท่าช้าง

 

2. วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร

 

แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่า "วัดสลัก" มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และได้มีการเปลี่ยนชื่ออยู่เรื่อย ๆ ในยุครัตนโกสินทร์ โดยวัดแห่งนี้ถือได้ว่า เป็นวัดที่มีพระอุโบสถที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร เนื่องจาก ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สวรรคตได้ 2 ปี รัชกาลที่ 5 ได้ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ อันเป็นส่วนของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เพื่อปฎิสังขรณ์วัดมหาธาตุในส่วนสำคัญ ได้แก่ พระมณฑป พระอุโบสถ และพระวิหาร  และได้โปรดให้เพิ่มสร้อยนามพระอาราม เพื่อเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชว่า “วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์” เป็นชื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน

 

การเดินทางโดยเรือข้ามฟาก ลงที่ท่าเรือ : ท่าพระจันทร์ เมื่อเดินออกมาจากท่าพระจันทร์ ให้เดินตรงไปทางด้านขวา ประมาณ 500 เมตร ก็จะพบกับทางเข้า วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษฎิ์ ในถนนฝั่งตรงข้าม

 

3. วัดโพธิ์

 

หรือมีชื่อเต็มว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่า "วัดโพธาราม" มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงขึ้นครองราชย์ ก็ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ "วัดโพธาราม" ขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม เสร็จแล้ว ทรงพระราชทานนามว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส" แล้วมาเปลี่ยนเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม" ในสมัยรัชกาลที่ 4 ที่ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ หรือพระนอนองค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  ความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมของวัดนี้ ก็คือ ความเป็นวัดที่มีความผสมผสาน ระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับศิลปะจีน ตามแบบพระราชนิยมของรัชกาลที่ 3 ที่ได้มีการตั้งตุ๊กตาศิลาจีนอยู่ภายในบริเวณวัด

 

การเดินทางโดยเรือข้ามฟาก ลงที่ท่าเรือ : ท่าเตียน

 

4. วัดอรุณฯ

 

มีชื่อเต็มว่า "วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร" หรือเรียกได้มีชื่อว่า "วัดแจ้ง"  เป็นวัดโบราณที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันปฏิสังขรณ์สำเร็จ รัชกาลที่ 1 ได้เสด็จสวรรคตไปเสียก่อน รัชกาลที่ 2 ที่ได้ขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา พระองค์จึงได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อให้สำเร็จ และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” และเป็นวัดประจำรัชกาลของรัชกาลที่ 2 อีกด้วย วัดอรุณฯ มีจุดเด่น คือ พระปรางค์วัดอรุณฯ ที่ถือได้ว่า  เป็นพระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และของโลกอีกด้วย นอกจากนี้ พระปรางค์ ยังมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม เป็นพระปรางก่ออิฐถือปูน ประดับด้วยชิ้นเปลือกหอย กระเบื้องเคลือบ จานชามเบญจรงค์สีต่าง ๆ เป็นลายดอกไม้ ใบไม้ และลายอื่น ๆ

 

การเดินทางโดยเรือข้ามฟาก ลงที่ท่าเรือ : ท่าเรือวัดอรุณฯ

 

5. วัดระฆังฯ

 

มีชื่อเต็มว่า "วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร" เป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเช่นกัน เดิมชื่อว่า "วัดบางว้าใหญ่" โดยในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้มีการปฏิสังขรณ์วัด และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระแก้ว และได้ทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ จำนวน 5 ลูก และได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า "วัดระฆังโฆสิตาราม" ความโดดเด่นของวัดนี้ นอกจากจะมี พระอุโบสถ พระวิหาร และพระปรางค์ที่สวยงามแล้ว ยังมี หอพระไตรปิฎก เป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เป็นรูปเรือน 3 หลังแฝด โดยหอพระไตรปิฎกนี้ ตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาส ทิศใต้ของพระอุโบสถ

 

การเดินทางโดยเรือข้ามฟาก ลงที่ท่าเรือ : ท่าเรือวัดระฆังฯ

 

การเดินทางไปยังวัดต่าง ๆ เหล่านี้โดยเรือข้ามฟาก สามารถเที่ยวได้ครบทั้ง 5 วันภายในวันเดียว หากมีการวางแผนการเดินทางให้ดี โดยวัดต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถเดินทางโดยเรือข้ามฟากข้ามไปหากันได้ เนื่องจากเป็นท่าเรือมีตำแหน่งที่อยู่ตรงข้ามกัน คือ ท่าเตียน (วัดโพธิ์) อยู่ตรงข้ามกับ ท่าวัดอรุณฯ (วัดอรุณ) และ ท่าช้าง (วัดพระแก้ว) อยู่ตรงข้ามกับ ท่าวัดระฆัง (วัดระฆังโฆสิตาราม)

 

การเดินทางโดยเรือข้ามฟาก นอกจากจะทำให้ นักท่องเที่ยวได้บรรยากาศแบบใหม่ในการเดินทางแล้ว ยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางได้เป็นอย่างมาก จากค่าโดยสารของเรือข้ามฟาก ที่มีค่าให้บริการเพียง 3.50 บาทต่อครั้งอีกด้วย

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

เซฟเงินในกระเป๋า เข้าพักที่ มวยไทย โฮสเทล

เสน่ห์ของห้องพักสไตล์ โฮสเทล ( Hostel )



บทความ ที่น่าสนใจ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการพักโฮสเทล

เตรียมพร้อม ก่อนการท่องเที่ยว




Muaythai Hostel

98/3-10 ถนนพระอาทิตย์ แขวงชนะสงคราม
เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
Tel : 02 629 2313